วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

17 การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอดส์


AIDS เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัส HIV ( human immunodefficiency virus ) ซึ่งจะทำให้ร่างกายขาดความสามารถ ในการต่อต้านโรค ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน และเป็นต้นเหตุให้เกิดการติดเชื้อ และโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมามากมาย  
     เมื่อมีกระบวนการก่อตัวของโรคเอดส์เกิดขึ้น ร่างกายของคนเรา จะสูญเสียความสามารถ ในการกำจัดอาการป่วยต่างๆ ซึ่งร่างกาย ของคนปกติที่มีภูมิคุ้มกันปกติสามารถทำได้ เนื่องจากโรคแทรกซ้อนต่างๆ จะได้รับประโยชน์เมื่อร่างกายอ่อนแอลง เป็นการเพิ่มโอกาส ให้ เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆมากขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ จะไม่ได้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ หากแต่จะเสียชีวิต จากอาการแทรกซ้อนและการ ติดเชื้อที่เกิดขึ้นได้ง่าย นอกจากนี้จากสถิติเราก็พบว่า โรคเอดส์เป็นต้นเหตุทำให้โรควัณโรค ซึ่งครั้งหนึ่งเราเคยควบคุมได้ในเมืองไทย กลับ มาแพร่ระบาดอีกครั้งด้วย
     จากการศึกษาที่ผ่านมาเราพบว่า เมื่อใดก็ตามที่เราได้รับเชื้อไวรัส HIV เชื้อไวรัสตัวนี้ก็จะอยู่ในร่างกาย ของเราไปตลอดชีวิต ในปัจจุบันในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังไม่สามารถค้นพบวิธีกำจัดเชื้อไวรัสตัวนี้ ออกจากร่างกายผู้ป่วย และแพทย์ก็ยังคง ไม่สามารถรักษาคนไข้โรคเอดส์ด้วย
การติดเชื้อ   HIV แบ่งได้เป็น  2 ระยะ
  ระยะแรก    หลังจากได้รับเชื้อ   ไวรัสเพิ่มจำนวนตรวจพบได้หลังติดเชื้อประมาณ 2 - 6 สัปดาห์   ในผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเลย   ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการของโรค   แต่บางรายก็มีอาการไข้ อ่อนเพลีย   อาการคล้ายกับการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่   หรือมีอาการทางประสาท
  ระยะสอง   เมื่อติดตามผู้ติดเชื้อประมาณ 5 ปี  พบว่า  แบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม  คือ
1. กลุ่มที่ไม่อาการ ( Asymptomatic ) พบได้ร้อยละ 45 -70
2. กลุ่มที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองโต (Persistent Generalized Lympadenopathy;PGL)
3. กลุ่มมีอาการสัมพันธุ์กับโรคเอดส์ ( AIDS related complex ; ARC ) กลุ่มนี้จะมีอาการที่บ่งถึงการเพิ่มจำนวนของไวรัส   และการที่เซลส์ถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ อาการที่พบได้แก่  ไข้เรื้อรัง   น้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว   ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ   เหงื่อออกมากตอนกลางคืน   อาจพบอาการท้องร่วงเรื้อรัง   หรือมีผื่นคัน
4. กลุ่มที่มีอาการชัดเจนสามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นเอดส   กลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีอาการ PGL หรือ ARC  นำมาก่อน   ในการติดตามผู้ที่มีเลือดบวก   พบว่า ผู้ที่ติดเชื้อร้อยละ 25 จะแสดงอาการโรคเอดส์ชัดเจนในเวลา 5 ปี   ผู้ป่วยจะมีอาการทั่วไปเช่นเดียวกับกลุ่ม ARC   ผู้ป่วยที่วินิจฉัยได้ว่าอยู่ในกลุ่ม 4 นี้ จะมีความบกพร่องทางระบบภูมิคุ้มกันอย่างมาก   แม้รักษาโรคเดิมหายก็มีโอกาสติดเชื้อหใหม่หรือเป็นมะเร็งเกิดขึ้นอีก   ผู้ป่วยเอดส์ร้อยละ 50 ถึงแก่ความตายในเวลา 1 ปี   ร้อยละ 75 ตายใน 3 ปี และ เกือบทั้งหมดตายภายในเวลา 5 ปี
5. กลุ่มที่มีอาการทางประสาท     
รับเชื้อประมาณ 2 - 6 สัปดาห์ เชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนในเซลส์   แยกเชื้อไวรัสหรือตรวจพบแอนติเจนได้   ต่อมาจะมีแอนติบอดี้ต่อเชื้อไวรัสนั้น   ซึ่งจะพบแอนติบอดี้หลังการติดเชื้อ   3 สัปดาห์ ถึง 3 เดิอน แอนติบอดี้ตัวแรกที่พบคือ Anti - gp 41   ซึ่งจะตรวจพบตลอดระยะเวลาของโรค   ต่อมาเมื่อไวรัสลดการเพิ่มจำนวนลงจะไม่พบ p24  core antigen  แต่จะพบ anti - p24 ปรากฎขึ้นแทน
      Anti - p24   จะปรากฎในระดับสูง   ในขณะที่ไวรัสเพิ่มจำนวนไม่มาก   ถ้าเมื่อใดที่เชื้อไวรัสมีการเพิ่มจำนวนมากมาย   ผู้ป่วยจะมีอาการมากขึ้น   และตรวจพบแอนติเจน p24 ในเลือด แต่ไม่พบ Anti - p24 ดังนั้น  Anti - p 24 จึงมีประโยชน์ในการพยากรณ์โรค   ผู้ที่เคยตรวจพบ Anti - p24 แล้วกลับหายไปแสดงว่าโรคกำลังรุนแรงขึ้น   อาจใช้เป็นครื่องหมายร่วมกับ p24 ในการรักษาด้วยยาที่ไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส
     
Anti - gp41   มีความจำเพาะทัยป์  ดังนั้น   น้ำยาที่ใช้ตรวจ Anti - gp24  ของ HIV - 1 จะใช้ตรวจ HIV -2 ไม่ได้
   โดยทั่วไปอาศัยการตรวจหา
1. ตรวจหา   Antibodies ต่อเชื้อ HIV
2. ตรวจหา  ชิ้นส่วนของ HIV
   Standard screening test สำหรับ HIV คือวิธี ELISA ซึ่งให้ผลดีมาก มี
Sensitivity มากกว่า 99.5% แต่ Specificity ไม่ดีนัก ดังนั้นหากผล ELISA test
เป็นบวกหรือไม่แน่ใจควรได้รับการยืนยันโดยวิธี 
WESTERN BLOT ซึ่งจะให้ผลบวก
ผลลบที่เชื่อถือได้ หากไม่สามารถยืนยันได้โดย WESTERN BLOT (ผลเป็น
INDETERMINATE)   ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจต่อไปโดยวิธี 
POLYMERASE
CHAIN REACTION (PCR)
 นอกจากนั้นควรตรวจซ้ำใหม่โดย WESTERN BLOT
อีก 1 เดือนถัดไป
   ากคุณต้องการตรวจ สามารถรับการตรวจได้ที่สถานพยาบาลที่เชื่อถือได้
ทั้งของรัฐและเอกชน เพราะมี COMMERCIAL ELISA kit ไว้บริการโดยทั่วไป เช่น Determine ซึ่งมีความ
ไวและความจำเพาะต่อการตรวจสูงมาก
    ย่างไรก็ตาม antibodies ต่อเชื้อ HIV จะตรวจพบได้ในกระแสเลือดหลัง
ติดเชื้อแล้วประมาณ 4-8 สัปดาห์ ดังนั้นในรายที่สงสัยควรตรวจซ้ำหลังจากนั้น
อีก 3 เดือน หาก ELISA test ครั้งแรกเป็นผลลบ
  ถึงแม้ว่าในขณะนี้จะมีการค้นพบ วิธีการชะลอการดำเนินของโรคให้ช้าลง โดยยา anti-virus เช่น AZT และ DDI ก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีวิธีใด ที่ได้รับการรับรองว่าสามารถรักษาได้ผล 100% ดังนั้นในขณะนี้ แพทย์จึงรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ ด้วยการพยายาม ลดความเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือ อาการติดเชื้อที่อาจเกิดแก่ผู้ป่วยได้
  ในปัจจุบัน ยาที่ใช้ยับยั้งไวรัสโรคเอดส์ (หรือ HIV) แบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรก จะเป็นสารประกอบ ที่มีรูปร่างคล้ายกับวัตถุดิบตามธรรมชาติทที่ไวรัส HIV ใช้ในการสร้างสารพันธุกรรมเพื่อการเจริญเติบโต แต่สารประกอบดังกล่าว จะมีพิษต่อไวรัส - ตัวอย่างที่ดีของยาประเภทนี้คือ AZT ( Zidovudine ) ยาอีกประเภทหนึ่ง จะทำหน้าที่ยับยั้งการตัดแต่งโปรตีนของไวรัส HIV โดยอาศัยจุดอ่อนของ HIV ที่จะสร้างโปรตีนจะมีลักษณะติดกัน เป็นโปรตีนก้อนใหญ่ ( เรียกว่า polyprotein ) ซึ่งจะถูกตัดออกให้เป็นโปรตีนชิ้นเล็ก ในภายหลัง โดยเอ็นไซม์ของไวรัสที่มีชื่อว่าโปรตีเอส ( protease ) ยาประเภทที่สองนี้จะขัดขวางการทำงานของเอ็นไซม์โปรตีเอส จึงมีชื่อเรียกกันอย่างกว้างๆว่า "protease inhibitor" ข่าวจากสำนักข่าวรอยเตอร์ แจ้งว่า แพทย์ชาวคานาดา ได้ใช้ยาสองประเภทนี้ ควบคู่กัน ในการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะรุนแรง จากการทดลองในกลุ่มผู้ป่วยประมาณ 1,000 คน พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา ทั้งสองประเภทพร้อมๆกัน จะมีชีวิตยืนยาวกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา AZT เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม เอดส์ยังเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดไม่ได้ การให้ยาถือว่าเป็นเพียง การยืดเวลาให้กับผู้ป่วยเท่านั้น
        ในปีค.ศ.1991 สมาคมการแพทย์แห่งอเมริกา รายงานว่า มีงานวิจัยจำนวนมาก ที่ทำให้เราเชื่อได้ว่า ความปลอดภัย และ ประสิทธิภาพของ วัคซีน จะได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
      ไม่มีผู้ใดสามารถบอกได้ว่า เมื่อไรที่วัคซีนจะมีประสิทธิภาพดีพอ ที่จะนำมาใช้กับผู้ป่วย ในขณะนี้ ทางที่ดีที่สุด สำหรับการป้องกันโรค AIDS คือ ลดโอกาส หรือ ปัจจัยเสี่ยงสำหรับการสัมผัสกับเชื้อไวรัสตัวนี้
     เมื่อเร็วๆนี้ มีรายงานการวิจัย ซึ่งเกี่ยวกับการฉีดยาให้กับผู้ติดเชื้อ HIV ในขั้นแรก โดยใช้วัคซีน ที่ประกอบจากโปรตีน ซึ่งทำมาจากเชื้อ ไวรัส HIV วัคซีนส่วนใหญ่ ใช้ได้สำหรับก่อนที่จะมีการติดเชื้อไวรัส แต่ไม่สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อมาแล้ว วัคซีนนี้ จะทำงานโดยการตอบสนอง ของ ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อ HIV อย่างไรก็ดีสามารถกระตุ้นได้ในบางรายเท่านั้น เราไม่สามารถรู้ได้ว่า วัคซีนตัวนี้จะมีประโยชน์ในการ หยุดยั้ง การพัฒนาของโรคเอดส์ ในคนไข้ ที่มีการติดเชื้อไวรัส HIV หรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น